เกร็ดญี่ปุ่น
ปี 2004
|
บันไซ!!
โบนัสมาแล้ว พอย่างเข้าเดือนธันวาคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในบริษัทต่าง
ๆ ในประเทศญี่ปุ่น หรือเรียกกันว่า "ซารารี่มัง"
หรือมนุษย์เงินเดือน ต่างพากันใจจดใจจ่อกับเงินโบนัสที่กำลังจะได้รับกันอย่างถ้วนหน้าในเดือนธันวาคมนี้
แม้แต่โรงเรียน หรือหน่วยงานราชการ ของญี่ปุ่นก็มีการจ่ายเงินโบนัสให้พนักงานด้วยเช่นเดียวกัน
ปัจจุบันนี้ฤดูเงินโบนัสจะอยู่ในช่วง กลางปี (มิถุนา - กรกฎา)
และ ปลายปี (ธันวา) ถือว่าเป็นเดือนพิเศษของคนญี่ปุ่นเลยทีเดียว
ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าคนญี่ปุ่นจะพากันไปซื้อสินค้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นใหญ่
ๆ กันช่วงนี้ เพราะเงินโบนัสของคนญี่ปุ่นสามารถซื้อของแพง
ๆ ได้อย่างสบาย ๆ หรือบางคนนำเงินนี้ไปเที่ยวต่างประเทศกันเลยที่เดียว
ซึ่งเรียกได้ว่าคุ้มกับการทำงานหนักของคนญี่ปุ่นเลยทีเดียว
|
Yakitori (ยะคิโทะริ)
อาหารญี่ปุ่นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดชนิดหนึ่ง
ทำโดยการเสียบเนื้อไก่และผักชิ้นเล็กบนไม้เสียบที่ทำจากไม้ไผ่แล้วย่างด้วยซอสชนิดพิเศษเฉพาะ
ยะคิโทะริ-ยะ (ร้านขายยะคิโทะริ) ในเมืองมักเนืองแน่นด้วยพนักงานที่ทำงานกินเงินเดือน
หรือที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า "ซาราริมัง" หลังเลิกงานก็จะมานั่งดื่มเบียร์บ้าง
เหล้าสาเกบ้าง และมักจะสั่ง Yakitori มาแกล้ม หรือบางบ้านใช้เสิร์ฟตามงานเลี้ยงสังสรรค์ต่าง
ๆ ด้วย เนื่องจากทำง่าย ซึ่งส่วนผสมก็หาได้ทั่วไปไม่ว่าจะป็น
เนื้อไก่, มิริน, ต้นหอมญี่ปุ่น แล้วนำไปย่างไฟ Yakitori
มีหลายแบบ ได้แก่ เนื้อไก่และผัก เช่น พริกหยวก หอมใหญ่
ต้นหอมญี่ปุ่น เห็ดหอมสด ฯลฯ เสียบบนไม้ไผ่แล้วย่าง หรือ
ตับไก่เสียบไม้ย่าง ที่เรียกว่า เระบะ - ยะชิ (reba-yaki)
,หัวใจไก่เสียบไม้ย่าง เรียกว่า ฮะทสึ (hatsu) และ ลิ้น
เรียกว่า ทัง (tan) ของหมูหรือวัว ซึ่งมีการนำมาปรุงในลักษณะเดียวกันกับไก่ก็เป็นที่นิยมและเรียกว่า
ยะคิโทะริ ด้วยเหมือนกัน บางคนชอบทาน Yakitori กับ อิชิมิ
(ichimi) หรือพริกป่น หรือ ชิจิมิ (shichimi) คือ เครื่องเทศผสมกัน
7 ชนิด ...
วิธีทำ
น้ำราด Yakitori ไม่ยาก คือต้องทำน้ำราด Yakitori ก่อน โดยการนำ
มิริน โชยุ และน้ำตาล ต้มในหม้อคนอย่างสม่ำเสมอ ปิดไฟก่อนซอสจะเดือดเล็กน้อย
.. หลังจากนั้นนำไก่และผักมาเสียบไม้ ย่างไก่จนมีสีน้ำตาลอ่อน
(เกือบไหม้) จุ่มลงในซอส แล้วย่างอีกรอบจนซอสแห้ง ทำซ้ำ
2 ครั้ง ย่างจนไก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนเหลือง.. ก่อนรับประทานจุ่มลงในซอสอีกครั้งและเหยาะด้วยผงซันโช..
ข้อมูลจาก
หนังสือสัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดย สสท.
|
งานแต่งงานแบบญี่ปุ๊น
ญี่ปุ่น การแต่งงานแบบญี่ปุ่นนั้นเป็นการแต่งตามศาสนาชินโต
เจ้าบ่าวจะใส่ชุดกิโมโนและสวม Hakama ฮะคะมะ (กระโปรงกางเกง)
กับ Haori ฮะโอะริ (เสื้อคลุมสวมทับกิโมโน) และจะติดสัญลักษณ์ประจำตระกูลของตน
ในสมัยก่อนเจ้าสาวจะสวมชุดกิโมโนสีขาว และ Ushikake อุชิคะเคะ
สีขาว เพื่อแสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ แต่ปัจจุบันนิยมสวม
อุชิคะเคะ เป็นสี ๆ กันเนื่องจากสีขาวล้วนทำให้เจ้าสาวดูไม่สดชื่น
ดูเหงา เศร้า .. ช่วงเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงที่เรียกได้ว่าเป็นเดือนที่นิยมที่จะจัดพิธีแต่งงานกัน
ไม่ว่าจะในญี่ปุ่น หรือทั่วโลกเพราะเป็นช่วงเดือนที่ไม่มีฝน
และอากาศดี หรืออากาศเริ่มหนาว เหมาะที่จะทำพิธีมงคล ชาวญี่ปุ่นไม่นิยมเลือกวันแต่งงานในช่วงกลางฤดูร้อน
หรือวันใกล้สิ้นปีเพราะว่าอาจจะทำให้ผู้ที่มาร่วมงานไม่สะดวกที่จะมาร่วมงานแต่งงาน
ส่วนมากจะเลือกจัดงานแต่งงานในช่วงฤดูใบไม้ร่วง หรือฤดูใบไม้ผลิ
และก็จะเลือกวันที่ตรงกับวันมงคลตามปฎิทินญี่ปุ่น
การให้ขวัญงานแต่งงาน โดยมากแล้วผู้ร่วมงานจะให้เป็นเงินสด
และของขวัญด้วย การให้เป็นเงินสดต้องเอาใส่ซองที่เรียกว่า
Noshi Bukuro โนะชิ บุคุโระ หรือ ซองใส่เงินของขวัญที่ถูกต้องตามหลัก
การให้โนะชิ เมื่อมองซองโนะชิให้เจ้าบ่าว เจ้าสาว แล้วกล่าวอวยพร
เป็นอันเสร็จพิธี หลังจากพิธีแต่งงานเสร็จสิ้น และร่วมรับประทานอาหาร
เสร็จแล้ว เจ้าบ่าวเจ้าสาวก็จะส่งแขกพร้อมกับมอบกล่องปิ่นโต
ซึ่งข้างในอาจจะเป็นขนม หรืออาหาร เพื่อขอบคุณแขกที่มาร่วมแสดงความยินดีกันตน
|
โฮงะขุ
(Hougaku) เป็นคำที่ใช้เรียกดนตรีญี่ปุ่นทั้งหมด หรือดนตรีพื้นเมืองของญี่ปุ่น
มีทั้งหมด 5 เสียง และมี 2 กับ 4 จังหวะเท่านั้น แตกต่างกับดนตรีตะวันตกเพราะว่าดนตรีตะวันตก
มีทั้งหมด 7 เสียง ดนตรีญี่ปุ่นจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว (คลิ๊ก
เพื่อฟังเสียงเครื่องดนตรี)
|
ธงชาติญี่ปุ่น
มีชื่อเรียกว่า "ธงฮิโนะมะรุ" มีลักษณะเป็นรูปวงกลงสีแดงอยู่กลางพื้นสีขาว
ซึ่งวงกลมสีแดงนั้น แทนความหมายของ พระอาทิตย์ ซึ่งมาจากคำว่า
"ฮิโนะมะรุ"
ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง "ดวงอาทิตย์วงกลม"
ไม่เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า สัญลักษณ์พระอาทิตย์วงกลมบนผืนธงได้เริ่มใช้มาแต่เมื่อใด
อย่างไรก็ดี ในศตวรรษที่ 12 เหล่านักรบซามูไร (บูชิ) ได้ปรากฏขึ้น
และในห้วงเวลาแห่งการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจระหว่างตระกูลมินาโมโตกับตระกูลไทระ
นักรบซามูไรมักชมชอบวาดภาพพระอาทิตย์วงกลมบนพัด "กุนเซน"
(พัดจีบ) ในยุคแห่งสงครามระหว่างรัฐในศตวรรษ ที่ 15 และ
16 ครั้งเมื่อผู้นำทางทหารแข่งขันเพื่อความมีอิทธิพล นิยมใช้เครื่องหมายฮิโนะมะรุเป็นตราประจำทางทหาร
ในภาพวาดบรรยายการรบที่เซกิกะฮะระในปี พ.ศ. 2143 จะเห็นลักษณะโดดเด่นของฮินะมะรุ
ปรากฏบนธงต่าง ๆ ของกองทหาร แม้รูปวงกลมสีแดงบนพื้นสีขาวเป็นภาพเจนตามากที่สุด
ธงฮิโนะมะรุ กำหนดสัดส่วน
ความกว้างและความยาวของธง ในอัตรา 2:3 ให้วงกลมอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางพอดี
เส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมเท่ากับสามในห้าของความกว้างของธง
ปัจจุบัน มีการประดับธงฮิโนะมะรุและบรรเลงเพลงชาติ "คิมิงะโย"
ในงานพิธีในวันหยุดราชการ การฉลองพิธีการในโอกาสสำคัญอันมงคลและในงานพิธีต้อนรับอาคันตุกะของรัฐ
นอกจากนี้
ประชาชนชาวญี่ปุ่นจำนวนมากประดับธงฮิโนะมะรุหน้าบ้านในวันหยุดราชการ
เพลง "คิมิงะโย" ก็มีการบรรเลงในงานที่มิใช่ทางการ
อาทิเช่น รายการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศที่มีทีมญี่ปุ่นเข้าร่วมแข่งขันด้วย
ใน การแข่งซูโม่ ซึ่งหลายคนเห็นว่าเป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่นนั้นก็มีการบรรเลงเพลงชาติก่อนพิธีมอบรางวัล
ที่มา เว็บสถานฑูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
|
คนญี่ปุ่นอายุยืนจังเลยนะ!!
ปัจจุบันนี้มีคนญี่ปุ่นที่มีอายุเกิน 100 ปี มากกว่า 20,000
คน จากข่าวที่เคยได้ติดตามก็เคยมีฝาแฝดชาวญี่ปุ่นที่มีอายุยืนมากคือคุณยาย
"คิม" กับ "คิง" ซึ่งคนหนึ่งได้เสียชีวิตเมื่ออายุได้
110 ปี ส่วนอีกคนยังมีชีวิตอยู่ เป็นไปได้ว่าการที่คนญี่ปุ่นมีอายุยืนนั้นมาจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เป็นประจำทุกวัน
จะสังเกตได้ว่าอาหารประจำวันของคนญี่ปุ่นมักประกอบด้วยปลาทะเลลึก
สาหร่าย ซึ่งล้วนแต่มีคุณค่าทางอาหารมากทั้งสิ้น และนอกจากนี้คนญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการเล่นกีฬามาก
เห็นได้จากการส่งเสริมให้เด็ก ๆ เล่นกีฬากันตามชมรมต่าง
ๆ ในโรงเรียนตั้งแต่ประถมกันเลยทีเดียว และยังส่งเสริมให้มีการทำกิจกรรมต่าง
ๆ ในโรงเรียนอีกด้วย ซึ่งทำให้มีจิตใจมีความสุขส่งผลให้สุขภาพกายสมบูรณ์แข็งแรงไปด้วย
นอกจากเรื่องอาหารของคนญี่ปุ่นแล้วสภาพอากาศในประเทศญี่ปุ่นที่มีการกำหนด
และคุ้มครองในด้านมลพิษก็มีความเคร่งครัดอย่างมาก แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะเป็นประเทศอุตสาหกรรมก็ตาม
.. แต่ว่าการมีประชากรที่อายุยืนมากขึ้นก็ใช่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดี
เพราะประเทศญี่ปุ่นปัจจุบันกลับประสบปัญหาเรื่อง อัตราการเพิ่มของประชากรเด็กลดต่ำลงอย่างน่าเป็นห่วง
และอัตราการแต่งงานก็ลดลงเช่นเดียวกัน คนญี่ปุ่นปัจจุบันนิยมแต่งงานกันช้า
หรือไม่แต่งเลยก็มีคะ..
|
แอนจังสอนวิชาเลข?
เกร็ดญี่ปุ่นคราวนี้อาจจะมาแปลกสักหน่อยนะคะ "วิชาเลข"
ที่ว่าก็คือ วิธีการคิดเงินตามอัตราค่าเงินนั้นเอง จากเงินเยน
เป็นบาท และ บาท เป็น เยน หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าแหม.. เรื่องมด
ๆ แต่ว่าคนที่ไม่รู้วิธีคิดแล้วเมลล์มาถามแอนจังก็มีไม่ใช่น้อยนะคะ
... (ค่าเงินขณะนี้คือ 100 บาท เท่ากับ 38 เยน)
ปรกติเงินเยนญี่ปุ่นจะต้องมีเลขมากกว่าเงินไทยคือ 100 เยน
= 38 บาทไทย
เช็คค่าเงินได้ที่นี่คะ
จากเงินเยน
>>> เงินบาท
สูตรคือ
จำนวนเงินเยน x 0.38
หากต้องการซื้อของราคา
10,000 เยน
คิดเป็นเงินไทยเท่ากับ 10,000
เยน
x 0.38 = 3,800
บาท
เพราะฉะนั้นเงิน
10,000
เยน
จะแลกเงินไทยได้ 3,800
บาท
|
จากเงินบาท
>>> เงินเยน
สูตรคือ
จำนวนเงินบาท ÷ 0.38
หากต้องการแลกเงิน
10,000 บาท เป็นเงินเยน
ก็จะเท่ากับ 10,000
บาท
÷ 0.38 = ประมาณ 26,315
เยน
เพราะฉะนั้นเงิน 10,000
บาท
จะแลกเงินเยนได้ประมาณ
26,315
เยน
|
แต่สำหรับใครที่
ยัง งง ๆ ก็ลองคลิ๊กเข้าไปในเว็บนี้นะคะ
ง่ายสุด ๆ เลยคะ
แค่เลือกสกุลเงินแล้วพิมพ์จำนวนเงินที่ต้องการคิดในช่อง
amount คะ
|
เอ็นเรียว
คำว่า "เอ็นเรียว" แปลว่า สงวนท่าที หรือสำรวม
หมายถึง ภาวะจิตใจหรือการกระทำซึ่ง ผู้ใดผู้หนึ่งปฎิเสธการเชิญหรือไม่ทำอะไร
เพราะเกรงว่าจะก่อให้เกิดความไม่สะดวกหรือความเสียใจให้ผู้อื่น
เช่น การปฎิเสธการเชิญไปรับประทานอาหารเพราะเกรงว่าผู้เชิญจะเสียเงินและต้องเป็นภาระ
อีกตัวอย่างหนึ่งเช่น การงดสูบบุหรี่ (ทาบาโกะ โอะ เอ็นเรียว
ซูรุ) ด้วยเกรงว่าผู้อื่นที่อยู่ ณ ที่นี้จะได้รับความรำคาญ
ในประเทศญี่ปุ่นนั้นถือกันว่าเป็นมารยาทที่ดีหากมี เอ็นเรียว
ในทางกลับกันนั้น หากได้รับการปฎิสเธการเชื้อเชิญโดยเอ็นเรียวแล้ว
ถือกันว่าเป็นมารยาทดีของผู้เชิญที่จะคะยั้นคะยอโดยพูดว่า
โดโซะ โกะ เอ็นเรียว นะคุ (โปรดอย่าได้เกรงใจ) การพูดเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ทีได้รับเชิญไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะเป็นความไม่สะดวกสำหรับผู้เชิญ
การประพฤติใด ๆ ที่ตนชอบโดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น
เรียกว่า "บุเอ็นเรียว" ซึ่งเป็นที่น่ารังเกียจ
จากหนังสือ ประตูสู่ญี่ปุ่น สสท.
|
เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยคือใครกันน่าาา..??
หลาย ๆ คนชอบประเทศญี่ปุ่นกันมานานแล้ว แต่รู้กันหรือไม่ว่า
ท่านทูตฯ ญี่ปุ่น ประจำประเทศไทยของเราคือใคร?? เกร็ดญี่ปุ่นคราวนี้แอนจังอยากจะ
แนะนำให้แฟน ๆ ของ Japankiku รู้จักกับท่านเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
ท่านมีชื่อว่า "อะสึชิ โทะกิโนะยะ" ท่านมาประจำอยู่ในประเทศไทยประมาณ
2 ปี แล้ว >>อ่านประวัติของท่านได้ที่นี่คะ<<
นอกจากนี้หากใครสนใจอยากรู้เรื่องความสัมพันธ์ของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น
ก็ลองเข้าไปดูได้จากเว็บไซต์ของสถานทูต นะคะ http://embjp-th.org/
เพราะในนั้นมีข้อมูลเกี่ยวกับทุนต่าง ๆ ที่รัฐบาลญี่ปุ่นมอบให้นักเรียนไทยที่ต้องการไปเรียนที่ญี่ปุ่น
และยังมีเรื่องราวของความช่วยเหลือต่าง ๆ ที่ทางสถานทูตญี่ปุ่นฯ
ได้ให้ความช่วยเหลือกับหน่วยงานต่าง ๆ ของไทย หรือเรื่องของวีซ่าประเภทต่าง
ๆ อีกด้วยคะ .. นาน ๆ มาอ่านสาระ ความรู้บ้างก็ดีนะจ้ะ จะได้ชื่อว่าเป็น
"สาวกญี่ปุ่นตัวจริง" .... และที่สำคัญหากใครมาถามเราว่า
"..เธอชอบญี่ปุ่นแล้วรู้มั้ยว่าใครเป็นท่านทูตที่มาประจำในไทย"
เราจะได้ตอบได้เต็มปากเต็มคำว่า "ก็ พณฯ ท่าน อะสึชิ
โทะกิโนะยะ นะสิจ้ะ.." \\(^_^)//
|
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศนำเข้าผลิตผลทางการเกษตรมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก
เนื่องด้วยมีพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การทำเกษตรกรรมเพียงร้อยละ
13.3 เท่านั้น แปลงที่ดินเพื่อการเกษตรโดยเฉลี่ยมีขนาด 1.47
เฮคเตอร์ หรือ 14,700 ตารางเมตร เมื่อเปรียบเทียบแล้วค่อนข้างเล็ก
แต่เกษตรกรญี่ปุ่นทำงานหนักเพื่อใช้ที่ดินที่มีจำกัดนั้นให้ได้ประโยชน์สูงสุด
ดังนั้น การเกษตรจึงมีประสิทธิภาพที่ดี เกษตรกรญี่ปุ่นใช้รถแทรคเตอร์
รถปิ๊กอัพ รถไถ เครื่องปลูกข้าว และเครื่องเกี่ยวและนวดข้าวเพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพ
การใช้การเกษตรแบบหนาแน่น ปุ๋ย เครื่องจักรสมัยใหม่ และเทคนิคชั้นสูง
ช่วยให้เกษตรกรสามารถผลิตพืชผลได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณผักและผลไม้ที่บริโภคภายในประเทศ
และเกษตรกรยังใช้ที่ดินบางส่วนเลี้ยงปศุสัตว์ ทรัพยากรทางการเกษตรของญี่ปุ่นจึงมีคุณประโยชน์อย่างมากสำหรับการโภชนาการของชาวญี่ปุ่น
เทคโนโลยีสมัยใหม่ยังช่วยให้การทำการเกษตรแขนงใหม่เป็นจริงได้ด้วย
อ่านต่อ>>
/ ข้อมูลจาก
JAT School
|
จูเก็น ในสมัยโบราณญี่ปุ่นแบ่งช่วงออกเป็น 2 ส่วน จากเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน
และจากเดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม และประเพณีการฉลองนี้มีซ้ำอีกหนใน
6 เดือนหลัง เหมือนกับที่เคยฉลองแล้วใน 6 เดือนแรกของปี
ร่องรอยของประเพณีโบราณนี้หลงเหลืออยู่น้อยมาก แต่ประเพณีการให้ของขวัญแก่ผู้มีพระคุณในฤดูให้ของขวัญ
ซึ่งเรียกว่า จูเก็น เช่นกันกับฤดู โอะเซโบะ ในปลายปีนั้นอาจจะเป็นประเพณีที่หลงเหลืออยู่อีกประเพณีหนึ่ง
ของขวัญจูเก็น ที่นิยมให้กัน ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม และของจำเป็นในชีวิตประจำวัน
ห้างร้านและห้องสรพสินค้าเตรียมการเป็นพิเศษเพื่อจัดวางจำหน่ายของขวัญและจัดผู้ช่วยขายของชั่วคราว
ตามธรรมเนียมเมื่อได้รับของขวัญแล้วต้องมีการให้ของขวัญตอบแทน
การคำนวนค่าตอบแทนนี้ยากพอ ๆ กับการตัดสินใจว่าจะให้ทิปสักเท่าไรในยุโรป
โดยปกติมักนิยมให้ของตอบแทนเป็นราคาครึ่งหนึ่งของเงินหรือของที่ได้รับในงานศพ
แต่ถ้าเป็นงานมงคล งานแต่งงาน ค่าตอบแทนหรือของขวัญต้องราคาเท่ากับของขวัญที่ได้รับ
แต่ถ้าจะให้ของกับผู้อวุโส ต้องให้สูงกว่าครึ่งหนึ่งของราคาของที่ได้รับ
|
teru
teru bouzu เทรุ เทรุ โบซึ คือตุ๊กตาตัวเล็ก
ๆ สีขาว ทำด้วยกระดาษทิชชูหรือผ้าขาว เป็นรูปตุ๊กตาที่มีแต่หัวเล็ก
ๆ กับตัว ไม่มีผม จมูก ปาก ตา หู หรือแขนขา ตุ๊กตานี้จะถูกนำไปแขวนที่หน้าต่าง
หรือชายคาบ้านเพื่อภาวนาขอให้อากาศดี เด็ก ๆ มักจะนำตุ๊กตานี้ไปแขวนเมื่อต้องการให้วันรุ่งขึ้นท้องฟ้าแจ่มใสปลอดโปร่ง
พร้อม ๆ กับร้องเพลง เทรุ เทรุ โบซึ ประเพณีนี้ได้รับมาจากประเทศจีนนานมาแล้ว
|
จัง คุง ซัง ทำไมคนญี่ปุ่นถึงเรียกต่างกันล่ะ
จัง คุง ซัง เป็นคำเรียกตามท้ายชื่อ การใช้แต่ละคำจะแสดงความใกล้ชิด
หรือนับถือที่ต่างกัน ควรระวังในการใช้ทั้งสามคำนี้ให้ถูกต้อง
ซัง: เป็นคำที่สุภาพที่สุด ถ้าจะแปลเป็นภาษาไทยก็เหมือนคำว่า
คุณ กับผู้ที่ไม่สนิทผู้ใหญ่ก็ควรใช้ ซังไว้ก่อนเพื่อความสุภาพ
แต่ถ้าใช้กับเพื่อนพอคบไปนาน ๆ จะหาว่าไม่ให้ความสนิทสนม
ตัวอย่าง asaki san = คุณอาซากิ
คุง: ใช้กับคนรู้จักอันนี้จะใกล้ชิดกว่า ในบริษัท
หรือโรงเรียน เพื่อนๆ มักจะใช้เรียกกัน เจ้านายก็มักจะเรียกลูกน้องด้วยคำว่าคุง
ไม่ว่าลูกน้องจะเป็น ชายหรือหญิงก็ใช้ได้หมด บางทีผู้หญิงก็ถูกเรียกเหมือนกัน
เช่นทำงานด้วนกัน ถ้าเรียกซังบางทีเหมือนเกรงใจไป จังก็สนิทไป
ก็เลยใช้คุงก็มี ส่วนซังบางครั้งเพื่อนร่วมงานคนใหม่ แม้เขาจะเด็กกว่าเราแต่เพิ่งรู้จักการใช้
ซังก็เป็นการเริ่มวางตัวสุภาพไว้ก่อนค่ะ
จัง : อันนี้จะสนิทมาก หรือแสดงความสนิทสนมเป็นกันเอง
เช่น แอนจัง เรียกตัวเองเพื่อแสดงความสนิทสนมกันแฟน ๆ เว็บเจแปนคิขุ
หรือคุยกับคนที่เป็นเด็กกว่า เช่นเพื่อนสนิทในโรงเรียน แต่เพื่อนผู้ชายก็มักจะใช้คุงมากกว่า
แต่เพื่อนผู้ชายบางคนก็ใช้จังได้เหมือนกัน (ต้องสนิทหน่อยนะ)
กับเด็ก ๆ ก็มักใช้คำนี้ แม่ก็มักจะเรียกลูกลงท้ายว่าจัง
ไม่ว่าจะโตแค่ไหน เด็กผู้ชายที่ยังเป็นเด็กเล็ก ๆ ก็จะถูกเรียกว่าจัง
ชินจัง เป็นต้น ข้อมูลจาก
Kiku Tuter Board
|
Hanami
เทศกาลชมดอกไม้ ซากุระถือเป็น
"ดอกไม้ประจำชาติ" ของญี่ปุ่น และเป็นดอกไม้ที่เป็นที่ชื่นชอบที่สุดในญี่ปุ่นมาแต่โบราณ
ซากุระถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมจำนวนมากมาย และลายดอกซากุระเป็นลายที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสำหรับแทบทุกอย่างในชีวิตความเป็นอยู่ของชาวญี่ปุ่น
ดังสุภาษิตที่ว่า ฮานะโยริ ดังโงะ "Hana yori dango"
(กินขนมดีกว่าชมดอกไม้) ผู้คนสนุกสนานกับการดื่มกินสังสรรค์ใต้ต้นซากุระ
และมีความสุขในเทศกาล โอฮานามิ
ซากุระเซนเซน หลังจากที่ได้มีการสำรวจต้นซากุระตามที่ต่าง
ๆ 120 แห่งทั่วญี่ปุ่นแล้ว กรมอุตุนิยมวิทยาก็จะพยากรณ์และประกาศอย่างเป็นทางการถึงกำหนดที่ซากุระจะบาน
เส้นที่ลากเชื่อมจุดที่พยากรณ์ว่าซากุระจะบานในวันเดียวกัน
เราเรียกว่า "ซากุระเซนเซน" Sakura Zensen แม้ชีวิตของคนญี่ปุ่นทุกวันนี้จะสับสนวุ่นวาย
แต่เมื่อถึงช่วงนี้ของทุกปี ผุ้คนก็ยังคงกล่าวขวัญถึงซากุระและพากันไปชมดอกซากุระ
ข้อมูลจาก
หนังสือ 12 เดือนในญี่ปุ่น สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม
|
ซามุไร
เป็นชื่อที่คนทั่วไปเรียก
แต่สำหรับพวกเขาแล้วจะไม่เรียกตัวเองว่า ซามุไร แต่จะเรียกว่า
bushi คำว่าbushi หมายถึงคนที่มีความสามารถด้านศิลปะการต่อสู้แล้วก็มีความรอบรู้ในเรื่องต่างๆเป็นอย่างดี
ถ้าพูดง่ายๆก็คือเก่งทั้งบุ๋นและบู้ นักรบจะไม่ถือว่าเป็นbushi
คือพวกที่เก่งแต่เรื่องการต่อสู้อย่างเดียวจะไม่ค่อยมีใครนับถือ
พวกที่ฉลาด หัวดีอย่างเดียวต่อสู้ไม่เป็นก็ไม่ค่อยมีใครนับถือเช่นกัน
ยุคที่มีซามุไรคือช่วงต้นศตวรรษที่ 17 จนถึงประมาณกลางศตวรรษที่
19 ในช่วง 250 ปีของยุคนั้นเป็นยุคที่มีแต่ความสงบไม่มีสงคราม
ในช่วงนั้น ซามุไรจะทำงานเกี่ยวกับเรื่องการเมืองการปกครอง
ถ้าสมัยนี้ก็ประมาณข้าราชการประจำในกรม กระทรวงต่างๆนั่นเอง
แค่นี้ก็พอจะเดาได้ว่าความรู้ในด้านต่างๆเป็นเรื่องที่สำคัญมากเช่นกันในสมัยนั้น
ส่วนศิลปะการต่อสู้ก็เปรียบเสมือนกับกีฬาในสมัยนี้นั่นเอง
เนื่องจากว่างานของซามุไรเป็นงานคล้ายๆงานของข้าราชการ ดังนั้นแน่นอนบางคนก็ตกงานไม่มีงานทำ
ซามุไรที่ตกงานก็หางานอื่นทำอย่างเช่นเป็นอาจารย์สอนเรื่องศิลปะการต่อสู้บ้าง
เป็นครูสอนหนังสือตามโรงเรียนต่างๆบ้าง ส่วนซามุไรที่ไม่เก่งอะไรซักอย่างพวกนี้จะใช้ชีวิตที่ค่อนข้างลําบากงานที่ทําก็เป็นงานในครัวเรือนเล็กๆน้อยๆ
พอเลี้ยงครอบครัวได้ ดังนั้น เพื่อความสําเร็จในอนาคตและเพื่อการดํารงชีวิตที่ดี
ตั้งแต่เด็กๆ ซามุไรแต่ละคนจะมีความพยายามเป็นอย่างมากทั้งการฝึกศิลปะการต่อสู้และการศึกษา
ในสมัยนั้นกลุ่มคนที่เป็น bushi หรือ ซามุไรจะเป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถมาก
ศิลปินหรือนักเขียนในยุคนั้นจำนวนมากก็ถือกำเนิดมาจากซามุไร
อ่านต่อ>>
| ข้อมูลจาก Hokutoda
Web
|
การออกกำลังกาย
อิจิ-นิ-ซัง-ชิ หรือ หนึ่ง สอง สาม สี่ ตัวเลขทั้งหมดนี้เป็นถ้อยคำที่ได้ยินบ่อยที่สุดในเวลาเช้าประมาณ
06.30 น. ยิ่งถ้าเดินอยู่ในสวนสาธารณะในโตเกียวหรือที่ใดก็ได้ในญี่ปุ่น
จะได้ยินเสียง หนึ่ง สอง สาม สี่ ชัดเจนที่สุด หากเข้าไปดูใกล้
ๆ จะพบผู้คนจำนวนหนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นคนสูงอายุกำลังออกเอ็กเซอร์ไซส์ไปพร้อม
ๆ กัน เสียงที่ได้ยินดังออกจากวิทยุเล็ก ๆ คนที่อยู่ญี่ปุ่นนาน
ๆ จะพบแต่การออกกำลังกายแบบนี้ทุกหนทุกแห่งในตอนเช้าตรู่
การออกกำลังกายทำกันมานานแล้ว บางคนบอกว่านานพอ ๆ กับการกระจายเสียงทางวิทยุทีเดียว
ไม่ว่าอากาศจะหนาวเย็นเพียงใด หรืออยู่ฤดูใดก็ตาม จนบางทีก็ดูมืดครึ้มและเย็นยะเยือก
แต่เสียง หนึ่ง สอง สาม สี่ ยังคงได้ยินอยู่เสมอ ถามคนญี่ปุ่นดูก็บอกว่า
ทำเป็นกลุ่มสนุกกว่า ถ้าทำคนเดียวในบ้านก็ดูเหงา ๆ ชอบกล
ส่วนใหญ่เมื่อออกไปนอกบ้าน สามารถหาเพื่อนได้เพิ่มขึ้น วันใดก็ตามที่เป็นวันหยุดก็มีการจัดเครื่องดื่มให้ด้วย
บางทีมีกิจกรรมรวมหมู่ด้านสังคมอื่น ๆ แต่การสาธิตการออกกำลังกายทางโทรทัศน์
โดยบอกให้ผู้ชม เอียงตัว ก้น เขย่า บิด หมุนตัว นั้น คนญี่ปุ่นไม่ชอบ
แต่เสียงจากวิทยุที่เปล่งออกมาเหมือนเสียงนายทหารนอกรายการฟังดูคึกคักกว่า
ทุกครั้งที่ได้ยินประกาศเมื่อเวลา 06.30 น. ก็เริ่มรู้สึกว่าไม่สามารถทนนอนเฉยเดียวดายบนเตียงต่อไปได้อีก
.... แล้ววันนี้ออกกำลังกายกันรึยังล่ะ..
|
แผนที่
ผมทราบมาว่า ในเอเชียประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใครมาก่อน
แล้วก็เป็นเรื่องที่คนไทยทุกคนภูมิใจ เป็นจริงอย่างไรเอาไว้อีกเรื่อง
แต่สําหรับผมแล้วที่ว่า ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใครน่ะจริงหรือ...
คือมีอะไรบางอย่างที่ทําให้ผมรู้สึกว่าประเทศไทยเคยตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ
เหมือนกับประเทศแถว ๆ แอฟริกา สิ่งที่ทำให้ผมรู้สึกอย่างนั้นก็คือ
แผนที่โลก ประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ไม่ว่าประเทศไหนในโลกจะทำแผนที่โลกของตนเองขึ้นมา
แผนที่นั้นจะมีประเทศของตนเองอยู่ตรงกลางเสมอ ถ้าเป็นประเทศในยุโรปก็จะมีทวีปยุโรปอยู่ตรงกลาง
ทางซ้ายมือก็จะเป็นทวีปอเมริกา ทางขวาก็จะเป็นทวีปเอเซีย
แล้วก็มีมหาสมุทรแปซิฟิกถูกตัดเป็นขอบ ในแผนที่ของประเทศทางยุโรป
ประเทศญี่ปุ่นจะอยู่เกือบตกขอบ เหมือนเป็นรอยเปื้อนเล็กๆ
บนเสื้อผ้าอย่างงั้นแหละ เห็นแล้วรู้สึกหดหู่เป็นอย่างมาก
ตรงกันข้ามถ้าเป็นแผนที่ของประเทศจีน ญี่ปุ่นหรือเกาหลี
ยุโรปจะหลบอยู่ตรงขอบๆ ด้านซ้ายมือเหมือนจะเกรงใจไม่กล้ามาอยู่กลางๆ
อเมริกาก็จะอยู่ขอบทางขวา ตรงกลางก็จะเป็นมหาสมุทรแปซิฟิก
เห็นแบบเด่น ๆ เลยทีเดียว สำหรับแผนที่ของอเมริกาจะเหมือนกับแผนที่ของประเทศทางยุโรป
อันนี้ก็อย่างที่ทุกคนทราบ เป็นเพราะว่าอเมริกาเคยเป็นอาณานิคมของยุโรปมาก่อนนั่นเอง
อ่านต่อ>> | ข้อมูลจาก
hokutoda
|
Yakitori
อาหารราคาย่อมเยาและเป็นที่นิยมมีชื่อว่า
ยากิโทริทำโดยการเอาเนื้อไก่หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เสียบไม้ที่ทำจากไม้ไผ่แล้วจุ่มลงในซอสซึ่งทำจากถั่วเหลือง
มิริน น้ำตาล และส่วนผสมอื่น ๆ จากนั้นจึงนำขึ้นย่างบนเตาถ่าน
การปรุงอาหารวิธีเดียวกันนี้ยังใช้ได้กับทั้งเนื้อหมู ตับหมูและไก่
ซึ่งก็เรียกกันว่า ยากิโทริ อาหารชนิดนี้เป็นอาหารว่างที่เป็นที่นำยมทานกับเหล้าโชจู
เหล้าสาเก และเครื่องดื่มอื่น ๆ ผู้คนจำนวนมากไปที่ยากิโทรริยะ
(ร้านขายยากิโทริ) ในตอนเย็นเพื่อดื่มเหล้ารับประทานอาหารและสังสรรค์กัน
โดยเหตุที่กิโทริ ประกอบด้วยเนื้อ ผัก เสียบไม้ปิ้ง จึงไปเกี่ยวข้องกับ
ชิช เกบาบ ของตะวันออกใกล้หรือเอเซียน้อย นายพรานในสมัยเอโดะอาจจะประกอบอาหารประเภทเนื้อ
โดยใช้ปิ้งบนเตาไฟขณะที่อยู่กันในป่า และดูเหมือนว่าวิธีดังกล่าวในญี่ปุ่นจึงพัฒนามาใช้เป็นวิธีรับประทานเนื้อไก่ลักษณะยากิโทริ
|
การขอใบขับขี่รถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น
นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย บอกได้เลยว่าเป็นงานหนัก ไม่ว่าจะเป็นคนญี่ปุ่นเองหรือคนต่างชาติ
กว่าจะได้มาเลือดตาแทบกระเด็น ถ้าใครอยากขับรถในประเทศญี่ปุ่น
แนะนําให้ทําใบขับขี่รถสากลไปด้วยจะดีมาก แต่ถ้าคิดอยากจะลองดีกับกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นล่ะก็
ลองอ่านต่อไป...
แน่นอนก่อนที่จะได้ใบขับขี่รถยนต์
ต้องขับรถให้เป็นก่อน จะขับเป็นหรือไม่เป็นต้องมีคนรับรอง
แล้วต้องเป็นการรับรองที่เป็นมาตรฐาน ไม่ใช่หัดขับเองแล้วไปสอบ
ดังนั้นสิ่งแรกที่ต้องทําคือ ไปสมัครเข้าเรียนที่โรงเรียนสอนขับรถ
ตอนสมัครต้องเตรียมเงินค่าเล่าเรียนไปเยอะๆ เพราะว่ากว่าจะจบคอร์ส(ใช้เวลาหลายสัปดาห์)
ก็คงใช้เงินเกือบแสนบาท ที่โรงเรียนสอนขับรถก็จะมีสอนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ
แต่ตอนสอบมีแค่สอบภาคปฏิบัติเท่านั้น ถ้าผ่านก็เอาใบรับรองที่ออกให้จากทางโรงเรียนไปยื่นสมัครสอบข้อเขียนที่ศูนย์สอบ
การสอบต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือเกี่ยวกับกฎจราจรให้มากๆ
คะแนนต้องมากกว่า 90% ถึงจะผ่าน ถ้าไม่ผ่านก็สอบอีกไปเรื่อยจนกว่าจะผ่าน
แต่ส่วนมากครั้งเดียวก็ผ่าน อ่านต่อ
>> | ข้อมูลจาก Hokutoda
|
 คนญี่ปุ่นทำอะไรวันคริสมาสตร์และปีใหม่
ในเดือนธันวาคมเป็นเรื่องธรรมดาที่หลาย
ๆ แห่งทั่วญี่ปุ่น มีการบรรเลงซิมโฟนี หมายเลข 9 ของเบโธเฟน
หรือที่เรียกว่า ซิมโฟนีประสานเสียง การบรรเลงซิมโฟนีนี้เกิดขึ้นประมาณราว
2-3 ทศวรรษมาแล้วเช่นเดียวกับการฉลองเทศกาลคริสต์มาส ที่ญี่ปุ่นก็ฉลองคริสต์มาสในคืนวันที่
24 ธันวาคม จะมีการกินบะหมี่โทชิโคชิ โซบะ ส่วนหนุ่มสาวแดนปลาดิบก็มักจะเลือกคืนคริสต์มาสอีฟนี้ในการไปเดทกัน
และอาจถึงขั้นพากันเข้าโรงแรมกันเลยทีเดียว ว่ากันว่าในคืนวันที่
24 ธันวาของทุกปี เลฟโฮเทล จะมีสถิติการจองมากที่สุดในวันนี้
ส่วนในวันที่ 31 ธันวา คนญี่ปุ่นในหลาย ๆ ท้องที่ยังคงยึดถือเป็นธรรมเนียม
ประเพณีเก่า ๆ ที่ยังคงเหลืออยู่วัดทุกแห่งยังมีการตีระฆัง
108 ครั้ง ตอนเที่ยวคืนของวันที่ 31 ธันวา ประเพณีการกินบะหมี่โซะในวันสุดท้ายของปีก็ยังคงยึดถือปฎิบัติกันอยู่
คนญี่ปุ่นก็จะอยู่บ้านดูทีวีช่อง NHK ที่มีรายการประกวดร้องเพลงฝ่ายสีแดงและฝ่ายสีขาว
(Kouhaku Uta Gassen) ที่คนญี่ปุ่นถือเป็นธรรมเนียมปฎิบัติกันทุกปีในคืนสุดท้ายของปี
แต่ก็มีคนญี่ปุ่นอีกไม่น้อยที่นิยมไปเที่ยวต่างประเทศกันในช่วงเทศกาลปีใหม่
เที่ยวบินระหว่างประเทศมีการจองอย่างคับคั่ง สำหรับคนที่ยังอยู่ในประเทศญี่ปุ่นก็จะไปเล่นสกี
หรือไม่ก็ไปเที่ยวที่อื่น คนที่ยังอยู่ในตัวเมืองก็จะไปฉลองปีใหม่ที่โรงแรมต่าง
ๆ
|

|
|