เกร็ดญี่ปุ่น ปี 2001

คนญี่ปุ่นกินอาหารอะไรในวันปีใหม่
toshikoshi soba
(toshi ปี) (koshi ข้าม, ผ่าน) soba เส้นสีน้ำตาลคล้าย ๆ บะหมี่คะ มักกินในคืนวันที่ 31 ธค. คนญี่ปุ่นเชื่อว่าจะมีชีวิตที่ยืนยาวข้ามปี
sushi เป็นอาหารพิเศษ เพราะบางบ้านก็ขี้เกียจทำอาหารในช่วงปีใหม่คะ ก็สั่ง sushi มากินกันในบ้าน suki yaki ที่ญี่ปุ่นไม่เหมือนบ้านเราเพราะชาวญี่ปุ่นนิยมใช้เนื้อวัว ผัก และ yaki tofu (เต้าหู้ย่าง) shirataki (หัวบุกเส้น) มาต้มคะ เพราะทำง่าย และทุกคนสนุกกับการทำสุกี้ moji เป็นข้าวเหนียวที่ตำละเอียด แล้วปั้นเป็นก้อนคะ เวลาเอาไปต้มแล้วเอามากินจะเหนียว ๆ คะ ส่วนมาจะทาน moji ในวันปีใหม่คือวันที่ 1-3 มกรา คะ(ในไทยมีขายในร้าน Top ซุปเปอร์มาเก็ต) ลองหามาทานได้นะจ้ะ

โคชิเอ็ง คือสนามชิงชัยความเป็นสุดยอดทีมเบสบอล ระดับมัธยมปลายของญี่ปุ่นที่นักเบสบอลสมัครเล่นทุกคนใฝ่ฝันอยากไปให้ถึง ีมที่จะเข้ามาแข่งในสนามโคชิเอ็งได้ต้องผ่านรอบคัดเลือกจากทั่วประเทศก่อน จึงมาเปิดศึกชิงตำแหน่งที่ 1 ณ สนามแห่งนี้ ผู้ที่มีลีลาการเล่นดีมีสิทธิ์ได้เป็นดาวเด่นของวงการเบสบอล ทีมต่าง ๆ ที่มาแข่งนั้นจะเป็นทีมจากโรงเรียนมัธยมปลายของแต่ละย่านทั่วประเทศญี่ปุ่น ย่านไหนได้เข้าชิง ชาวบ้านจะพากันมาเชียร์อยู่หน้าจอทีวีอย่างใจจดจ่อเลยทีเดียวล่ะ

ตะเกียบ หรือที่ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า hashi ตะเกียบญี่ปุ่นมีลักษณะเฉพาะต่างจากตะเกียบทั่วไป เพราะมีน้ำหนักเบาราวดินสอ และใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง ทางขวามือจะมีที่วางตะเกียบเล็ก ๆ ขณะรับประทานก็มีข้อห้ามการใช้ตะเกียบมากมาย เช่นห้ามรับส่งอาหารด้วยตะเกียบต่อตะเกียบ ห้ามวนตะเกียบเหนือจานเพื่อเลือกอาหาร เป็นต้น
บนโต๊ะอาหารนั้น การจัดโต๊ะก็มักจะจัดให้ถ้วยข้าวอยู่ทางซ้ายมือและถ้วยซุปอยู่ทางขวา ส่วนตะเกียบวางข้างหน้าของถ้วยข้าวกับถ้วยซุปในแนวนอน เด็กญี่ปุ่นได้รับการสั่งสอนให้จับตะเกียบด้วยมือขวา และใช้มือซ้ายถือถ้วยข้าวและถ้วยซุปขณะรับประทานคนญี่ปุ่นดื่มซุปจากถ้วย สำหรับถ้วยหรือจานอาหารอื่น ๆ จะวางอยู่บนโต๊ะ

เกอิชา หญิงสาวพอกหน้าขาวกับเรียวปากสีแดงเข้ม สวมกิโมโนผ้าไหม คือลักษณะเฉพาะของเกอิชา ผู้ที่เข้ามาฝึกเป็นเกอิชาจะถูกเรียกว่า ไมโกะ หรือเด็กฝึกงาน ซึ่งต้องผ่านการฝึกฝนศิลผะแขนงต่าง ๆ เช่น เขียนพู่กัน เรียนรู้พิชาชงชา เล่นเครื่องดนตรีซามิเซน รวมถึงวิธีมัดใจลูกค้า รายได้ของเกอิชานับว่าดีมาก แต่ขณะเดียวกันก็ห้ามแต่งงานด้วยนะ เกอิชานั้นไม่ใช่โสเภณีอย่างที่ใคร ๆ เข้าใจกันแต่เป็นคนที่คอยให้ความสำราญกับแขก แต่ว่าก็มีบางส่วนที่แขกหิ้วออกไปข้างนอกได้คะ

ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้สมญานามว่าเป็นดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย เพราะเชื่อกันว่ากษัตริย์ญี่ปุ่นนั้นสืบเชื้อสายมาจากพระอาทิตย์ ดังนั้นเครื่องหมายของกษัตริย์จึงเป็นรูปพระอาทิตย์มาตั้งแต่เริ่มต้นการปกครองระบอบกษัตริย์เมื่อ 2,500 ปีก่อน และตราพระอาทิตย์ก็เป็นดังเครื่องหมายแทนความเป็นญี่ปุ่นที่ทัวโลกรู้จักกันดีในปี ค.ศ.1854 เมื่อญี่ปุ่นเปิดประเทศติดต่อกับโลกตะวันตก จึงได้มีการพัฒนาธงญี่ปุ่นขึ้นตามแบบอารยประเทศโดยใช้รูปดวงอาทตย์มีรัศมีสีแดงบนพื้นขาว และใช้มาจนกระทั่งญี่ปุ่นพ่ายสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงได้ตัดรัศมีออก เหลือเพียงวงกลมสีแดงบนพื้นธงสีขาวเท่านั้น

ต้นไม้และสัตว์ ความแตกต่างของภูมิประเทศและภูมิอากาศของญี่ปุ่น ทำให้มีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด ดอกไม้และต้นไม้บางชนิดมีความสำคัญในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ซากุระซึ่งโรยราภายในไม่กี่วันหลังผลิบานเป็น จิตนาการแห่งบทกวีที่เตือนให้รู้ว่าโลก เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพียงใด ในทางตรงข้าม ต้นสน (มัทซึ) ก็สามารถเป็นสัญลักษณ์ของความมีชวิตยืนยาว สำหรับไผ่ (ทาเกะ) เป็นความหมายของความสามารถในการเอาชนะความยากลำบากและมีความแข็งแรง เพราะไผ่มีพลังเข้มแข็งและยืดหยุ่น ถึงแม้ว่าญี่ปุ่น มีนก แมลง และสัตว์ตัวเล็ก ๆ นานาพันธุ์ แต่ไม่มีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ประเภทเลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นคือ หมี ซึ่งอาศัยในป่าลึก ส่วนสุนัขจิ้งจอกและแรคคูนอาศัยอยู่ใกล้ฟาร์ม และหมู่บ้านในนิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่นจะพบว่าสัตว์พวกนี้ชอบทำเล่เพทุบายกับคนเสมอๆ แต่ในความจริงแล้วกลับตรงกันข้าม.

นิบปอง หรือ นิฮอง คำสองคำนี้หมายถึง ประเทศญี่ปุ่นและใช้มาแล้วอย่างน้อย 500 ปี คำว่า "นิปปอง" นั้นเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปมากกว่า "นิฮอง" ในการแข่งขันกีฬานานาชาติใช้ คำว่า "นิปปอง"  เพียงคำเดียวอาจเป็นเพราะคำที่ให้เสียงมีพลังอำนาจ และดึงดูดสายตาเวลาที่เขียนเป็นอักษรภาษาอังกฤษ  นอกจากคำว่า "นิปปอง" และ "นิฮอง" แล้ว  ยังเคยมีการใช้คำว่า "จิบปอง" ซึ่งอาจจะเป็นต้นกำเนิดของคำว่า Japan ในภาษาอังกฤษ  หรือคำอื่น ๆ ในภาษาอื่น ๆ ซึ่งใช้เรียกประเทศญี่ปุ่นคะ

งานฝีมือแบบดั้งเดิมซึ่งเรียกว่า โอริงามิ หรือการพับกระดาษ คือการใช้แผ่นกระดาษแผ่นเดียวพับเป็น รูปนก สัตว์ต่าง ๆ ดอกไม้ เรือ และสิ่งอื่น ๆ ได้อย่างน่ามหัศจรรย์ แต่เดิมนั้นใช้กระดาษพับในพิธีของศาสนาชินโต และในพิธีของศาสนาอื่น ๆ เพื่อประดับศาสนวัตถุแต่ในสมัยเมจิได้พัฒนามาเป็นงานอดิเรกของเด็ก ๆ ซึ่งเป็นที่นิยมกัน และยังได้มีการสอนโอริงามิในหลักสูตรศิลปะที่โรงเรียนด้วย ในการพับกระดาษนี้จะใช้กระดาษสีหลายหลายชนิด

งานอดิเรกชนิดนี้เป็นที่ชื่นชอบของคนจำนวนมากในปัจจุบัน ประเพณีหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมกันมากซึ่งเมื่อไม่นานมานี้คือ การพับกระดาษเป็นรูปนกกระสา  และผูกติดกันด้วยด้ายเป็นแนวยาวเรียกกันว่า เซ็มบะซูรุ  นกกระดาษดังกล่าวนี้จะให้เป็นของขวัญเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของโชคดี หรือเพื่อขอให้หายจากเจ็บป่วย

ฟุโรชิกิ [15/03/01] เป็นผ้าที่ใช้ห่อหรือใส่ของ มีขนาดใหญ่ประมาณหนังสือพิมพ์เมื่อกางออก ฟูโรชิกิปัจจุบันยังใช้กันมากเพราะมีน้ำหนักเบา และเก็บได้ง่ายเมื่อไม่ต้องการใช้ มักทำมาจากผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าป่าน เป็นต้น เมื่อก่อน ฟูโรชิกิ มีไว้เพื่อห่ออุปกรณ์ที่ใช้อาบน้ำเมื่อไปอาบน้ำ ในห้องอาบน้ำสาธารณะ โดยใช้ปูเพื่อวางของบนพื้นในห้องอาบน้ำ ซึ่งจากคำว่า ฟูโร แปลว่า ห้องน้ำ และชิกิ แปลว่า วางแผ่ออก ในสมัยก่อนฟูโรชิกิที่มีราคาแพงเนื่องจากทำจากผ้าชั้นดี มีสีและลวดลายสวยงาม ยังใช้ถือเป็นเครื่องประดับที่สง่างามเมื่อสวมชุดกิโมโนอีกด้วย

นิงิหริเมฉิ (โอ-มุสึบิ)  [10/01/01] ก้อนข้าวที่รู้สึกกันว่า นิงิหริเมฉิ โอ-มุสึบิ หรือโอ-นิงิหริ เป็นอาหารว่างที่นิยมกันมากในประเทศญี่ปุ่น วิธีทำคือ เอาข้าวนึ่งสุก 1 กำมือ ใส่พลัมดอง (อุเมะโบฉิ) ปลาซัลมอนเค็ม (ชิโอะซะเคะ) หรืออื่น ๆ เล็กน้อยไว้ตรงกลาง ปั้นให้เป็นลูกกลม ๆ การปั้นนี้มือจะต้องเปียกพร้อมกับแตะเกลือเพียงเล็กน้อย เพื่อทำให้ข้าวมีรสเค็มหน่อย ๆ ตามธรรมดาแล้วจะห่อด้วยแผ่นสาหร่ายแห้งเรียกว่า โนริ รับประทานกับผักดอง 
      ในสมัยก่อน ก้อนข้าว นิงิหริเมฉิ จะห่อด้วยเปลือกไผ่ซึ่งสามารถนำติดตัวไปทานระหว่างการเดินทาง แต่ปัจจุบันก้อนข้าวนี้ห่อด้วยแผ่นพลาสติกบาง ๆ และใส่ในกล้องพลาสติก แม้ว่านิหงิเมฉิจะกลายเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง ผลิตและจำหน่ายตามร้านอาหารทั่วไป แต่ในสมัยก่อนนั้เป็นอาหารแบบธรรมดาที่สุดที่ทำกันที่บ้านและเป็นที่รู้จักกันดี และนิยมรับประทานเป็นอาหารว่างมากที่สุดในเวลาเดินทางและไปปิคนิค

  โอ-มิไอ   [30/12/00]  ประเพณีที่เรียกกันว่า โอ-มิไอนั้น คู่หนุ่มสาวที่เหมาะสมจะได้รับการแนะนำให้รู้จักกันเพื่อที่จะแต่งงานกัน พ่อสื่อหรือคนกลางจะเป็นผู้แนะนำคู่หนุ่มสาวให้รู้จักกัน ระหว่างการรักประทานอาหารที่ภัตตาคาร  หรือด้วยการออกไปดูละครหรือในโอกาสอื่น ๆ ในสมัยเมจินั้นถือว่า เป็นธรรมเนียมที่นิยมกันมาก 
พ่อสือหรือนาโคโดะ (nokodo) ผู้ซึ่งจัดการนัดหมายจะส่งรูปและประวัติ และข้อมูลอื่น ๆ เกี่ยวกับคู่หนุ่มสาวไปยังพ่อแม่ของแต่ละฝ่าย และหากฝ่ายพ่อแม่ยอมรับก็จะจักให้ทั้งคู่ได้พบกัน หากทุกอย่างดำเนินไปโดยดีอาจมีการนัดพบกันเอง และจะมีการแต่งงานกันภายในไม่กี่เดือนหลังจากนั้น

 จังเก็ง [30/11/00] จังเก็งเดิมทีมาจากประเทศจีน ชาวญี่ปุ่นถือว่าจังเก็งเป็นทั้งเกมการละเล่นอย่างหนึ่ง และยังใช้เพื่อกำหนดลำดับผู้เล่นก่อนหลังในการทำอะไรสักอย่างหนึ่ง การละเล่นนี้เทียบได้กับการละเล่นของเด็ก ๆ คือ "เกมเป้ายิ้งฉุบ" เวลาเล่นคนไทยจะพูดว่า  "ยันยินเยาปั๊กกะเป้ายิงฉุบ" ส่วนคนญี่ปุ่นจะพูดว่า  "saishowaguu jankenpon (ไซโชวะกึ จังเก็งโป้ง)"  แต่ในภาษาโอซาก้าจะพูดว่า "saishowaguu injan hoi (ไซโชวะกึ อิงจังโฮ้ย) และการตัดสินก็เหมือนของไทยค่ะ คือมี ฆ้อน (tonkachi) กระดาษ (kami) และ กรรไกร (hasami)   และไม่เพียงแต่เด็ก ๆ  เท่านั้นที่เล่นจังเก็งแต่ผู้ใหญ่ก็ยังนำมาเป็นการเล่นแก้เบื่อ เช่นในหากนั่งรถไฟเป็นระยะทางไกลๆ ก็มักจะเล่นกันฆ่าเวลา  แต่ในเมืองไทยนั้นมักจะเล่นกันเฉพาะเด็ก ๆ เท่านั้น

ปาชิงโกะ [12/11/00] คือเกมการดีดลูกลงหลุม หรือ Pin ball นั่นเอง โดยตู้เกมที่ใช้นั้นจะวางตามแนวตั้ง ลูกโลหะที่ใช้ดีดีมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร และจะถูกดีดีจากช่องซึ่งอยู่ทางขวาตอนล่างของตู้ จากนั้นลูกก็จะตกลงผ่านช่องระหว่างตะปูที่ติดอยู่ และปล่อยลูกไหลออกทางด้านล่าง ปัจจุบันตู้ปาชิงโกะจะมีคันโยกแบบง่าย ๆ ที่บังคับด้วยมอเตอร์แทนตู้แบบเดิมซึ่งใช้มือดีดีคันโยก      
        สำหรับรางวัลที่จะได้ก็มีหลายชนิดตั้งแต่หนังสือและนิตยสารไปจนถึงเครื่องใช้ในครัวเรื่อน และอาหาร เราจะพบร้านปาชิงโกะเช่นนี้ทั่วไปในญี่ปุ่นและบางร้านมีเครื่องเล่นหลายร้อยเครื่อง ปาชิงโกะเริ่มเป็นที่นิยมเช่นเดียวกันกับ "มาจัง" ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองและพลเมืองญี่ปุ่นที่เล่นปาชิงโกะมีสัดส่วนสูงมากในปัจจุบัน

เดมาย [1/11/00]  คือ บริการที่ร้านอาหารในแถบนั้นจะส่งอาหาร เช่น ซูฉิ ราเม็ง โซบะ และอาหารง่าย ๆ อื่นๆ ถึงบ้านลูกค้าบริการนี้ยังคงมีอยู่มากในประเทศญี่ปุ่น  และอาหารเหล่านี้จะใส่ในจานหรือชามกระเบื้องและถือโดยใส่ในกล่องไม้ที่เรียกว่า โอกะโมจิ ปัจจุบันนี้การส่งอาหารจะใส่ในถาดซึ่งสามารถกันกระเทือน ซึ่งติดซ้อนท้ายจักรยานยนต์หรือสกู้ตเตอร์ ราคาของอาหารรวมค่าส่งแต่ไม่จำเป็นต้องให้เงินทิป จึงทำให้บริการนี้เป็นที่นิยมกันมาก

ซากุระ [25/10/00] สัญลักษณ์แห่งราชวงศ์จักรพรรดิ์ญี่ปุ่น  คือ ดอกเบญจมาศ แม้ว่าคิหริหรือ ดอก Paulownia Imperialis จะเคยใช้เช่นกันตามแบบจีน อย่างไรก็ตามตั้งแต่สมัยเอโดะเป็นต้นมา ดอกซากุระมักถูกใช้แสดงถึงจิตใจของชาวญี่ปุ่น จนปัจจุบันกลายเป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น  ประเพณีที่จัดงานเลี้ยงกลางแจ้งใต้ต้นซากุระ ที่เรียกกันว่า ฮานะมิ ยังคงเป็นที่นิยมเสมอมา การที่ดอกซากุระร่วงกระจายไปทั่วและโรยหายไปในตอนที่มีความสวยงาม และเจิดจ้าสดใสที่นั้น ถูกนำมาเปรียบกับเวลาที่ซามูไรกำลังจะสิ้นชีวิตไป และถือเป็นสัญลักษณ์ของจิตใจของชาวญี่ปุ่น

หากจะนำบทความจากหน้านี้ไปใช้กรุณาขึ้นเครดิตให้ japankiku.com และ link กลับมาด้วย
banner ของ Japankiku อยู่ที่นี่>>

 


Japan NOW!!

Thailand NOW!

J Word
2006 2005 2004
2003 2002 2001
เกร็ดญี่ปุ่น
2006 2005 2004
2003 2002
2001
KIKU Tour
วัฒนธรรมการแยกขยะเมืองญี่ปุ่น
รู้จักเทศกาล Hinamatsuri รึยังเอ่ย?
ใครว่าอยู่เมืองนอก (ญี่ปุ่น) สบาย 1
ใครว่าอยู่เมืองนอก (ญี่ปุ่น) สบาย 2
คริสต์มาสและปีใหม่ในญี่ปุ่น
จำนวนคนญี่ปุ่นที่อาศัยในไทย
Japankiku IN JAPAN!!
Yakuza คือใครกันแน่!!!
เครื่องแต่งกายแบบญี่ปุ่นๆ
สิงหาคมเดือนแห่งความโหดร้าย
คนญี่ปุ่นเลี้ยงลูกกันอย่างไร
Tokyo Tower
มารู้จักซากุระกันเถอะ!!
ใครว่าอยู่เมืองนอก (ญี่ปุ่น) สบาย
47 จังหวัดของญี่ปุ่น
รู้จักราชวงศ์ญี่ปุ่น
ฤดูต่าง ๆ ในญี่ปุ่น
วันสำคัญ วันหยุดราชการ

Japan Study Link

เรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ฟร
JAT School
Mainichi
J Education
Kiku Tuter Board
Hokutoda
Tsn Life
Kidsweb
Japan Introduction
Megumi web

ข้อมูลท่องเที่ยว

Infomapjapan good
Japan-guide
good
Jnto.go.jp
Jalan

Japan Pictionary

แนะนำ Tokyo
รายละเอียดเกี่ยวกับ Visa
Japangaido
Web-japan
Japan-adventures

เส้นทางรถไฟ ตั๋วรถ

japanrailpass good
Westjr.co.jp

ซื้อตั๋วเครื่องบินราคาถูก

เช็คราคาตั๋วเครื่องบิน
kmt.co.th
tv-air.co.th
เดินทางไปสนามบินนาริตะ

จองโรงแรมแบบญี่ปุ่น

Jpinn
Japanese guesthouses
Travel.rakuten
เดินทางด้วยรถไฟในญี่ปุ่น