ฤดูหนาวในญี่ปุ่น และอุปกรณ์กันหนาวของชาวอาทิตย์อุทัย
ฤดูหนาว (fuyu) ในประเทศญี่ปุ่น เริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในแถบทางเหนือหรือในเขต Hokkaido จะมีอุณหภูมิต่ำและยาวนาน และยังมีเทศกาลหิมะที่มีชื่อเสียงอีกด้วย ส่วนทางตอนกลางของประเทศในแถบ Kansai หรือ แถบ Tohoku ก็มีอุณหภูมิที่ต่ำและหนาวเย็น จนถึงหิมะตกทุกปี ส่วนทางเกาะใต้อย่าง Okinawa แม้จะไม่มีหิมะแต่อุณหภูมิก็ต่ำว่า 10 องศาในเวลากลางคืน
ด้วยเหตุนี้มีหรือที่คนญี่ปุ่นจะอยู่เฉยโดยไม่หาเครื่องกันหนาว เรามาดูเครื่องกันหนาว และวิธีคลายหนาวของชาวญี่ปุ่นกัน
เริ่มกันที่สิ่งที่ทุกบ้านจะต้องมีกันเลยค่ะ
1. เครื่องปรับอากาศ หรือ eakon (danbou)
เครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ในบ้านของคนญี่ปุ่นนั้นสุดแสนจะไฮเทค เพราะว่านอกจากจะให้ความเย็นในฤดูร้อนเหมือนบ้านเราแล้ว เมื่อถึงฤดูหนาวก็ยังสามารถเปลี่ยนให้มาเป็นเครื่องทำความร้อนได้

2. Kotatsu โคะตะทสึ
โต๊ะอุ่น หรือโคะตะทสึ เป็นสัญลักษณ์ของญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ เพราะว่าคงไม่มีใครปฎิเสธว่าไม่เคยเห็น เพราะคงจะนึกภาพโต๊ะสี่เหลี่ยมที่สามารถสอดขาเข้าไปใต้โต๊ะแล้วนั่งล้อมวงกันดูทีวี หรือกินส้ม Kotatsu มี 2 แบบ คือแบบไฟฟ้า และแบบเตาถ่าน แต่ปัจจุบันก็คงจะใช้แบบไฟฟ้ากันเกือบหมดแล้ว
3. hita denki (ฮีตเตอร์ ไฟฟ้า)
ก็เพราะมันหนาว บางทีก็ไม่สามารถนั่งแช่อยู่ใต้โต๊ะโคะตะทสึได้ตลอดเวลา เวลาเดินไปเดินมาในบ้าน หรือนั่งทำงานที่โต๊ะก็นำเป็นต้องมี ฮีตเตอร์ไฟฟ้า หรือในห้องนอนก็ต้อง ที่ญี่ปุ่นหากบ้านที่มีฐานะหน่อยก็อาจจะมีไว้ได้หลาย ๆ ตัว เหมือนพัดลมไฟฟ้าบ้านเราในแต่ละบ้านก็มักจะมีพัดลมหลาย ๆ ตัวใช่ม๊า.... ฮีตเตอร์ไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นก็ทำนองเดียวกันคืออาจจะมีไว้ห้องละเครื่องก็ได้ มาดูหน้าตาของเจ้า ฮีตเตอร์ ไฟฟ้ากัน
ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างขนเครื่องทำความร้อนมาลดราคากัน

ฮีตเตอร์ ไฟฟ้าหลากดีไซน์
4. sutoobu มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า ""stove" หรือเตาความร้อน เตานี้ที่ญี่ปุ่นยังมีใช้กันอยู่ ซึ่งจะใช้น้ำมัน หรือแก๊สเป็นเชื้อเพลิง หน้าตาของมันก็จะเป็นแบบนี้ค่ะ

5. hotto kapetto หรือ พรมอุ่น เป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับคนเมืองหนาว ดูรูปร่างหน้าตาของมันก็เหมือนพรมธรรมดาที่ที่แปลกก็คือ เมื่อเสียบปลั๊กเข้าไป พรมอันหน้านุ่มก็จะอุ่นขึ้นมาทันที ทำให้เท้าเมื่อเหยียบบนพรมได้รับความอบอุ่น สุดยอดจริง ๆ hotto kapetto นั้นมีหลากหลายขนาด ราคาก็ขึ้นอยู่กับขนาดของพรมและวัสดุที่ใช้ เครื่องทำความอุ่นชนิดนี้ก็เป็นที่นิยมเช่นกันในญี่ปุ่น แต่คนเมืองร้อนอย่างพวกเราคนไทยอาจจะไม่เคยเห็นด้วยซ้ำ
6. Denki Moufu หรือ ผ้านวมไฟฟ้า แม้ว่าประเทศไทยเวลาหนาวมาก ๆ ก็ต้องขุดผ้านวมมาห่มก็เพียงพอกับความอุ่นแล้ว แต่ว่าที่ญี่ปุ่นนั้น ยังมีผ้านวมไฟฟ้าอีกด้วย การใช้งานก็คือ ตอนเราห่มเราก็เสียบปลั๊กและสามารถปรับอุณหภูมิของผ้านวม ให้อุ่นได้ตามต้องการ
Denki Moufu นั้นมีหลายขนาด ผืนใหญ่สามารถห่มได้ทั้งตัว หรือผืนเล็กสำหรับคลุมเท้า หรือคลุมตัวให้อบอุ่นก็มีค่ะ
7. Yutanpo หรือ กระเป๋าน้ำร้อน กระเป๋าน้ำร้อนก็สะดวกและนิยมใช้กันทุกบ้าน แต่อย่าได้จิตนาการกระเป๋าน้ำร้อนสีแดง ๆ เหมือนที่ใช้กันตามโรงพยาบาลในบ้านเราเชียว เพราะว่าที่ญี่ปุ่นมีรึที่จะมีแบบธรรมดา เพราะว่าเขาได้ดีไซน์กระเป๋าน้ำร้อนให้น่ารัก น่าใช้ ซึ่งสามารถใช้แทนเป็นหมอน หรือเอาไปซุกใต้เท้า หรือผ้าห่มเวลานอนเพื่อให้เท้าอบอุ่นขึ้นด้วย


Yutanpo ก็มีหลายแบบเช่นกัน มีแบบใช้วางเท้า หรือว่าเป็นถุงขนาดเล็กสำหรับพกพาไปข้างนอกได้ด้วย ช่างคิดจริง ๆ
8. Hokkairo สิ่งทำความอุ่นอันนี้ค่อนข้างประหลาดสำหรับคนเมืองร้อนอย่างเราแน่นอน เพราะว่า Hokkairo นี้จะมีขนาดที่เล็กอยู่ในถุง ลองนึกถึงแผ่นเจลแปะลดไข้ของเด็กที่ของบ้านเราจะเย็นต้องแช่ตู้เย็น พอเป็นไข้ก็เอามาแปะหน้าผาก แต่ Hokkairo นี้ตรงกันข้ามคือจะอุ่น เมื่อได้รับการเขย่า พอแกะออกจากซองก็ต้องเขย่า และจะอุ่นขึ้นมา สามารถพกพาไปไหนต่อไหนได้ Hokkairoจะมีแถบกาวสามารถเอาแปะตามตัวได้ตามต้องการ และมีมากมายหลายขนาด บางคนกลัวหนาวก็แปะไว้ทั่วตัว ไม่ว่าจะเป็นปลายแขนเสื้อ ในถุงเท้า ในเข็มขัด เป็นต้น มาดูหน้าตาของ Hokkairo กัน
ดูคลิปการใช้ได้ใน Youtube
ส่วนผงที่บรรจุข้างในซองที่เมื่อเขย่าแล้วจะเกิดความร้อนนั้นก็มีมากมายหลายชนิด เช่น คาร์บอน, เหล็ก, เซลลูโลส, น้ำ เป็นต้น เมื่อสารนี้โดนอากาศก็จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ซึ่งระยะเวลาก็แล้วแต่ชนิดของสารที่บรรจุ ซึ่งอาจจะใช้ได้เพียงแค่ 30 นาที หรือนานกว่า 2 ชั่วโมงก็มี

อุปกรณ์ทำความอบอุ่นร่างกายต่าง ๆ เหล่านี้บางชนิดก็นิยมกันแพร่หลายในยุโรปเช่นกัน แต่ว่าสินค้าของญี่ปุ่นมักจะมีดีไซน์ที่น่ารัก คิขุ ตามแบบฉบับของญี่ปุ่น รับรองว่าคนเมืองร้อนอย่างบ้านเราคงไม่ได้สัมผัสของแบบนี้แน่นอน ก็เราจะใช้ไปทำไมในเมื่อบ้านเรามีอุณหภูมิที่อบอุ่นตลอดปี นับว่าเป็นโชว์ดีจริง ๆ ที่ได้เกิดในเมืองไทย....
แอนจัง
webmaster@japankiku.com
เขียน |